บ้านประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

พลังงาน ถือเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นพลังงานน้ำ พลังงานน้ำมัน พลังงานไฟฟ้า ซึ่งความต้องการใช้พลังงานมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ในขณะที่พลังงานต่าง ๆ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น วิธีการประหยัดพลังงานซึ่งทำได้ทุกแห่งไม่ว่าจะในบ้าน ในรถยนต์ ในโรงเรียน และในสถานที่ทำงาน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะช่วยกันประหยัดพลังงานของชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของทุกคนได้ ต่อไปนี้เป็นคำตอบถึงวิธีการประหยัดพลังงานอย่างง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้

บ้านประหยัดพลังงานของเมืองไทย ที่เจ้าของบ้านทั่วไปสามารถจะก่อสร้างเพื่ออยู่อาศัยได้ กำลังจะพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ จากเดิมเมื่อสักประมาณ 15 -20 ปีก่อน ที่มีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทาง คือ บ้านที่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด หรือไม่ใช้พลังงานเลย อีกแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปก็คือ บ้านที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ หรือใช้แล้วใช้ให้คุ้มค่า และเมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาจนมีราคาที่ไม่แพงเกินไปและรัฐให้การส่งเสริมสนับสนุน โดยเฉพาะระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

แต่เมื่อสภาพแวดล้อมบางพื้นที่เปลี่ยนไป เช่น พื้นที่ในเมือง มีแต่ตึกแออัด ไม่มีที่โล่งและต้นไม้มีแต่ถนน การจะเปิดบ้านให้โล่งเพื่อรับลมก็จะเกิดปัญหาเพราะมีแต่ฝุ่นและควันรถ เป็นผลให้จำเป็นต้องปิดหน้าต่างแล้วเปิดแอร์เพื่อปรับอากาศที่ต้องใช้พลังงาน ดังนั้นบ้านจึงต้องออกแบบให้มีการรั่วซึมของอากาศน้อย ใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน เช่น ใช้ฉนวนกันความร้อนมาเสริม หรือใช้กระจกที่มีสมบัติป้องกันความร้อนได้ดี เพื่อให้การใช้พลังงาน (ในการปรับอากาศ) มีประสิทธิภาพ แนวทางนี้ภาษาวิชาการเรียกว่าเป็นบ้านแบบ แอคทีฟซิสเต็ม (Active System) อย่างไรก็ตาม บ้านในแนวทางนี้ก็ยังต้องออกแบบวางตัวบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางแดดลม เพราะหากบ้านหลังใดออกแบบไม่ดี หันทิศทางไม่ถูกต้อง ปล่อยให้แดดส่องเข้ามาภายในบ้านเกิดเป็นความร้อนสะสมกักเก็บไว้ภายใน ผลก็คือร้อน และยิ่งร้อนมากขึ้นหากติดฉนวนทั้งบ้านโดยที่ไม่ได้รับการออกแบบที่ดี เพราะฉนวนกันความร้อนที่เราหวังจะให้กันความร้อนเข้า ก็จะกลายเป็นตัวกันไม่ให้ความร้อนระบายออก เมื่อเปิดแอร์ก็จะสิ้นเปลืองทั้งพลังงานและค่าไฟ

สองแนวทางแรกนี่เป็นแนวทางพื้นฐานที่ต้องคำนึงถึงและนำไปใช้ในบ้านทุกหลัง บ้านประหยัดพลังงานที่ผ่านมาส่วนใหญ่ก็เป็นการประยุกต์ใช้สองแนวทางข้างต้นผสมผสานกันนั่นเอง