เทคนิคเบื้องต้นในการประหยัดพลังงานภายในบ้าน

บ้านเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หลายคนมีความฝันอยากมีบ้านเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นบ้านทาวเฮ้า อาคาร บ้านปูน บ้านไม้ เป็นต้น แต่นอกจากจะเลือกบ้านตามแบบที่ชอบแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงานด้วย เพราะในหลายๆครอบครัวไม่มีการเตรียมพร้อม เมื่อพอถึงเวลากับต้องชำระค่าใช้จ่ายที่บานปลาย ซึ่งนอกจากจะต้องประหยัดที่ตัวบุคคลแล้ว ยังมีวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานภายในบ้าน อีกหลากหลายวิธี ดังนี้

1.ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ที่สามารถกั้นไม่ให้ความร้อนถ่ายเท หรือส่งผ่านจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ยิ่งความร้อนส่งผ่านได้ยากเท่าไร ยิ่งถือว่าฉนวนกันความร้อนมีคุณภาพดี ซึ่งแบ่งตามงบประมาณ ดังนี้
1.1 งบประมาณเพียงพอ ควรติดที่ผนังและหลังคาของทุกห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานไม่หนัก

1.2 งบประมาณปานกลาง ควรติดที่หลังคา และเลือกติดที่ผนังด้านที่ร้อนที่สุด 1-2 ด้าน ในด้านที่โดนแดดมากๆ

1.3 งบประมาณน้อย ติดที่หลังคา ช่วยประหยัดพลังงานได้ เพราะหลังคาเป็นส่วนที่ได้รับความร้อนมากที่สุด สำหรับบ้านที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ควรหางบประมาณสำหรับติดฉนวนที่หลังคา เพื่อไม่ให้ความร้อนกระจายลงมา หรือติดผนังด้านที่ร้อนแทน

2.เอาของร้อนและชื้นออกจากห้องแอร์  เครื่องปรับอากาศมีหน้าที่ทำความเย็น ในเมืองไทยพลังงานที่ใช้ในการทำความเย็นนั้นเพียงแค่ 30 เปอร์เซ็น ส่วนที่เหลือหมดไปกับการทำให้อาหารในห้องแห้ง จึงไม่ควรนำของร้อนเข้ามาภายในห้องแอร์

3.ปิดแอร์อย่าเปิดประตูหน้าต่างทันที การเปิดหน้าต่างทันที หลังจากเปิดแอร์นั้น จะทำให้ความชื้นจากภายนอกเข้ามาสะสมอยู่ในผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ทำให้เครื่องปรับอากาศใช้พลังงานในการรีดความชื้นออกไป

4.เปิดพัดลม การที่ห้องปรับอากาศมีขนาดใหญ่ ลมจากเครื่องปรับอากาศจะกระจายไม่ทั่วถึง การเปิดพัดลมตั้งพื้นช่วยกระจายความเย็น ให้ทั่วห้องจะประหยัดไปมากกว่า การลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศลง

5.ทำกิจกรรมในบ้านพร้อมกัน เช่นการกินอาหารในแต่ละมื้อ ก็จะช่วยลดค่าไฟของไมโครเวฟ ค่าก๊าซหุงต้มจากการอุ่นอาหาร

6.ไม่ควรสร้างรั้วบ้านสูงจนเกินไป การสร้างรั้วสูงจะบังลมที่พัดเข้าบ้าน ทำให้รู้สึกอึดอัด และลมพัดระบายอากาศน้อยลง

วิธีการปรับเปลี่ยนบ้านเก่าให้ประหยัดพลังงาน

การจะสร้างบ้านให้ประหยัดพลังงานได้นั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่หากมีบ้านของตนเองอยู่แล้วก็สามารถทำให้บ้านธรรมดาเป็นบ้านที่ประหยัดพลังงานได้โดยไม่ต้องสร้างใหม่ โดยใช้เทคนิคในการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเท่านี้ก็สามารถทำให้บ้านเป็นบ้านประหยัดพลังงานได้ไม่ยาก
วิธีการปรับเปลี่ยนบ้านให้ประหยัดพลังงาน มีดังนี้

1.รั้วบ้านต้องมีความโปร่ง เพื่อให้ลมเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้บ้านไม่อับ ควรใช้วัสดุที่สามารถสะสมความร้อนไว้ในตัวเองได้ เช่น อิฐมอญ คอนกรีต เสริมเหล็ก คอนกรีตบล็อก

2.ปลูกต้นไม้ให้บ้านมีความสดชื่น ใบไม้ช่วยลดแสงแดดที่ตกกระทบตัวบ้านและให้ร่มเงาที่ร่มเย็นแก่ผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี

3.ต้องมีช่องให้ลมเข้าออกทางประตูหน้าต่าง อย่างน้อยสองด้าน มิฉะนั้นลมจะไม่สามารถไหลผ่านได้และสิ่งที่ดีที่สุดคือการออกแบบให้ช่องหน้าต่างอยู่ตรงข้ามกันและมีขนาดใหญ่เท่าเทียมกันจะทำให้การระบายความร้อนเกิดขึ้นมากที่สุด

4.ติดฉนวนกันความร้อนให้กับห้องที่มีเครื่องปรับอากาศทำให้ห้องเย็นสบายจากแสงแดดและ ป้องกันความร้อนเข้าตัวบ้านแล้วยังทำให้สภาพภายในห้องปรับลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีความร้อนสะสมอยู่ภายในห้องน้อยจึงช่วยลดค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศได้

5.วางตำแหน่งคอมเพรสเซอร์ให้อยู่ในจุดที่พัดลมของเครื่องสามารถระบายความร้อน ได้สะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางลม และนอกจากนี้ตัวเครื่องต้อง ไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดดมากนักในช่วงเวลากลางวัน เช่น ทิศเหนือหรือตะวันออก เพราะการสะสมความร้อนที่ตัวเครื่องในปริมาณมาก จะทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น

6.ทาสีผนังให้เป็นสีอ่อน ซึ่งสีอ่อนจะมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดด และการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในบ้านดีกว่า สีเข้มตามลำดับความเข้มของสี ผนังภายนอกที่สัมผัสแสงแดดจึงควรเลือกใช้สีโทนอ่อน เช่น ขาว ครีม

7.หันบ้านให้ถูกทิศ รูปทรงบ้านที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการรับแสงแดดในทิศดังกล่าวนอกจากนี้ลมประจำที่พัดผ่านประเทศไทยมีทิศทางชัดเจนจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน และพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาวการวางผังบ้านและทิศทางตำแหน่งช่องหน้าต่างเพื่อระบายความร้อนในบ้าน จึงต้องคำนึงถึงทิศทางกระแสลมเหล่านี้เป็นสำคัญอีกด้วย

วิธีง่ายๆประหยัดพลังงานในบ้าน

พลังงานเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เยอะก็จริง แต่ถ้าเราไม่รู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด สักวันหนึ่งพลังงานที่เอื้ออำนวยให้เราได้รับความสะดวกสบายทุกวันนี้ ก็มีโอกาสที่จะหมดไปจากโลกเราได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ซึ่งปัญหาแหล่งทรัพยากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นประเด็นที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจไม่น้อย และหากคุณเองก็เป็นหนึ่งคนที่อยากจะประหยัดพลังงานกับเขาบ้าง ก็เริ่มได้ง่าย ๆ จากบ้านของเราเอง ซึ่งนอกจากจะได้ช่วยลดโลกร้อนแล้ว ยังส่งผลโดยตรงกับรายจ่ายประจำบ้าน ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้อีกเยอะอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ ลองไปดูวิธีประหยัดพลังงานในบ้านกันนะคะ

1. ปรับอุณหภูมิแอร์อย่างเหมาะสม

ตามสถิติการใช้ไฟของทุกบ้านจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน ซึ่งหลัก ๆ จะเกิดจากการเปิดใช้แอร์ที่มากขึ้นนั่นเอง และถึงแม้ว่าหลายคนจะรู้ดีอยู่แล้วว่า ควรจะปรับอุณหภูมิแอร์ให้อยู่ในระดับ 25 องศาเซลเซียส แต่บางครั้งความร้อนระอุของอากาศก็ทำให้เราเผลอลืมตัว ลดอุณหภูมิแอร์ลงอีกหน่อยอย่างช่วยไม่ได้ แต่ถ้าอยากจะประหยัดพลังงานจริง ๆ ต่อไปลองบังคับตัวเองให้เปิดแอร์ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสให้ได้ดีกว่านะ เพราะเพียงแค่นี้ก็ช่วยให้คุณลดการใช้พลังงานลงไปได้เยอะเชียวล่ะ

2. ลดการใช้แอร์

นอกจากการปรับอุณหภูมิแอร์ให้ไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสแล้ว เราก็ควรเลี่ยงการเปิดแอร์บ้าง อย่างวันไหนที่อากาศกำลังสบาย ไม่ร้อนจัดจนเกินไป เปิดแค่พัดลมและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ก็น่าจะพอเนอะ ยิ่งพอเข้าสู่หน้าหนาว อากาศเย็น ๆ อย่างช่วงนี้ คงไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์สักเท่าไรเลย ก็ถือโอกาสใช้ช่วงเวลาหน้าหนาวให้เป็นประโยชน์ในการประหยัดไฟไปในตัว

3.อาบน้ำเย็นเแทนน้ำอุ่น

ต้องยอมรับว่าการอาบน้ำอุ่น ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้มากจริง ๆ หลายคนก็เลยติดใจ ต้องอาบน้ำอุ่นทุกครั้ง แม้วันนั้นอากาศจะร้อนมากแค่ไหนก็ตาม แต่รู้ไหมคะว่า แค่คุณเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น หรือแค่ลดอุณหภูมิน้ำอุณให้เย็นลงสักนิด ก็สามารถประหยัดไฟได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ที่สำคัญหากเปลี่ยนใจมาอาบน้ำเย็นได้ ผิวพรรณของคุณก็จะดูชุ่มชื้นขึ้น ร่างกายก็จะได้ความสดชื่นอีกด้วยนะ

4. เลือกใช้หลอดประหยัดไฟ

หากในบ้านของคุณยังคงใช้หลอดไฟแบบธรรมดา ไม่ได้มีฉลากประหยัดไฟ คงต้องลงทุนเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบฟลูออร์เรสเซ้นส์แล้วล่ะ เพราะหลอดไฟแบบประหยัดไฟ ให้แสงสว่างพอ ๆ กับหลอดไฟธรรมดา แต่ไม่ทำให้เปลืองไฟนะจ๊ะ

5. ล้างฟิลเตอร์แอร์และพัดลมฟอกอากาศเสมอ

สำหรับบ้านที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรต้องถอดฟิลเตอร์แอร์ออกมาล้างทำความสะอาดบ่อย ๆ เพราะถ้าปล่อยให้ฝุ่นละอองสะสมอยู่ในฟิลเตอร์อย่างนั้น จะทำให้แอร์ทำงานหนักมากขึ้น เปลืองไฟอย่างใช่เหตุ นอกจากนี้ควรถอดพัดลมฟอกอากาศมาล้างด้วย ลมเย็น ๆ จะได้พัดผ่านเข้ามาในบ้านเราได้อย่างสะดวก

จริง ๆ แล้วยังมีวิธีประหยัดพลังงานอีกมากมายที่เราสามารถทำได้ อย่างเช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือใช้จักรยาน และใช้บริการรถสาธารณะแทนการขับรถส่วนตัว แต่บางอย่างก็ต้องยอมรับว่า ค่อนข้างลำบากที่จะทำ ดังนั้นวิธีประหยัดพลังงานที่เราแนะนำ ก็น่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานที่ปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ เนอะ

การออกแบบบ้านให้เย็นเพื่อช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า

ปัจจุบันภูมิอากาศที่ทวีคูณความร้อนขึ้นทุกวัน เป็นเหตุที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยต่างหาวิธีการที่จะทำให้บ้านเย็นมากขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาก็มีอีกสารพันปัญหาไม่ว่าจะเป็นค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งความร้อนจากการทำงานของเครื่องได้ส่งผลให้อากาศโดยรอบบ้านร้อนขึ้น เมื่อบ้านร้อนทำให้มีการใช้พลังงานเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นเพิ่มขึ้น และทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการปรับบ้านให้เย็น จัดบ้านใด้น่าอยู่ จะช่วยให้ผู้ที่อยู่อาศัยมีความสุข สุขภาพจิตดี และสุขภาพกายก็จะดีตามมาอีกด้วย ฉะนั้นก่อนสร้างบ้านควรศึกษาเรื่องทิศทางและวางผังบ้านให้ตรงกับหลักการ โดยบริเวณหน้าบ้าน ห้องรับแขก หรือห้องนอน ไม่ควรหันหน้าไปในทิศตะวันตก เพราะจะทำให้พื้นที่นั้นรับแดดตลอดช่วงบ่าย และวนเวียนอยู่ภายในจนถึงกลางคืน ทำให้บ้านร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรหันหน้าบ้านไปทางทิศใต้จะสามารถรับลมได้ดีถึง 8 เดือน

การจะทำให้บ้านเย็นนั้นจะต้องมีการสร้างเกราะป้องกันความร้อนด้วยฉนวนกันความร้อนรอบๆตัวบ้านก่อน เช่น หลังคาติดตั้งระบบพ่นฝอยละอองน้ำหลังคา ระบบนี้จะมีอุปกรณ์พ่นฝอยละอองน้ำอยู่เหนือหลังคา เมื่อแดดร้อนสามารถเปิดระบบให้พ่นฝอยละอองน้ำ ซึ่งการระเหยของน้ำจะช่วยดูดความร้อนจากแผ่นมุงหลังคาให้เย็นลงได้ทำให้บ้านเย็น การทำช่องใต้หลังคาเพื่อระบายความร้อนจากแผ่นหลังคาออกไปโดยการทำช่องระบายอากาศใต้ชายคา หรือที่จั่วหลังคาหรือติดตั้งเครื่องระบบระบายกาศโดยอาศัยพลังลมที่หลังคา หรือการเลือกสีหลังคาให้เลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีสีขาวหรือสีอ่อน เพราะจะช่วยสะท้อนความร้อนได้มากกว่าสีดำหรือสีเข้มถึง 30-80% หรือเคลือบหลังคาด้วยสีซีรามิกจะช่วยสะท้อนความร้อน แต่การใช้สีซีรามิก จะต้องทำความสะอาดฝุ่นบนหลังคาเสมอ เพื่อคงปริสิทธิภาพการสะท้อนความร้อน แต่ถ้าเลือกใช้กระเบื้องโมเนีย เป็นวัสดุมุงหลังคาแล้ว เจ้าของบ้านไม่ควรทาสีซีรามิกอีก

การเลือกใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันและสะท้อนความร้อนภายในบ้านมาจากหลังคา ดังนั้นจึงไม่ควรเสียดายเงินในการวางระบบและเลือกซื้อวัสดุที่ดีที่จะช่วยป้องกันความร้อนที่ไหลมาทางหลังคา บ้านใหม่ควรให้ความสำคัญกับการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคาป้องกันความร้อนที่สามารถติดตั้งได้ในบ้านสร้างใหม่เท่านั้น ส่วนบ้านเก่าสามารถป้องกันความร้อนจากหลังคา ด้วยการปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยป้องกันความร้อนจากโถงหลังคาไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านใช้ได้ทั้งบ้านเก่าและบ้านสร้างใหม่

สร้างบ้านให้ประหยัดพลังงาน-ทุ่นค่าใช้จ่ายระยะยาว

บ้านพักอาศัยหลายหลังมักถูกสร้างโดยลืมนึกถึงสภาพภูมิอากาศที่บ้านตั้งอยู่ หรือใช้วัสดุไม่เหมาะสม รวมถึงการอยู่อาศัยอย่างไม่สอดคล้องกับเมืองร้อน ทำให้ต้องมาแก้ไขภายหลังสร้างเสร็จโดยการใช้เครื่องปรับอากาศภาพในบ้าน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน และทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

ทั้งๆ สามารถลดใช้พลังงานในบ้านพักอาศัยแต่แรกที่เริ่มเลือกปลูกสร้าง รวมถึงรู้จักปรับวิถีชีวิต พฤติกรรม และบ้านเรือนให้สามารถอยู่อาศัยได้สบาย โดยมีการใช้พลังงานน้อยที่สุด หรือหากต้องใช้พลังงาน ก็ใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ลองดูกันว่า “สร้างบ้านให้ประหยัดพลังงาน” ต้องเลือกพิจารณาอย่างไร

1. หันบ้านให้ถูกทาง

บ้านที่อยู่อาศัยแล้วสุขสบาย ควรเป็นบ้าน “อยู่เย็นเป็นสุข“ “ร่มรื่น ร่มเย็น“ “โล่ง โปร่ง สบาย” ดังนั้น สภาพแวดล้อมรอบๆ บ้านมีส่วนช่วยทำให้บ้านเย็นสบาย เช่น มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา มีแหล่งน้ำที่ให้ความเย็น ไม่มีอาคารกีดขวางทางลม ฯลฯ

การวางตำแหน่งบ้านที่ดีจะทำให้ภายในบ้าน ได้รับประโยชน์จากธรรมชาติมากที่สุด ดวงอาทิตย์อ้อมใต้ ความร้อนที่เกิดในบ้านส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกแล้วเคลื่อนตัวอ้อมไปทางทิศใต้จนไป ตกทางด้านทิศตะวันตก ดังนั้น การวางตำแหน่งของบ้าน อาจใช้หลัก “เปิดรับแสงด้านเหนือ” และ “กันแดดด้านตะวันตกและใต้” เท่านี้ก็พอจะสู้รบกับความร้อนได้อย่างดี และประหยัดพลังงานทีเดียว

ดูทิศทางลมเหนือและลมใต้ ลมที่พัดผ่านประเทศเรามี 2 ชนิด คือ ลมมรสุมฤดูร้อน ที่พัดมาจากทางทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมฤดูหนาว ที่พัดมาจากทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น การจัดวางบ้าน ควรจะจัดให้มีช่องเปิดที่ด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ทั้ง 2 ด้าน

2. กางร่มให้บ้าน

ต้นไม้สุดยอดร่มเงา การปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆบ้าน นอกจากความร่มรื่นความสดชื่น อากาศบริสุทธิ์ที่ได้รับจากต้นไม้แล้ว ต้นไม้ยังดึงเอาความร้อนที่อยู่รอบๆ ไปทำให้น้ำที่รากดูดขึ้นมาจากใต้ดิน ระเหยเป็นไอน้ำผ่านออกทางปากใบ ทำให้อากาศรอบๆต้นไม้เย็นลง
ติดกันสาดให้บ้าน การติดตั้งกันสาด หรือแผงกันแดด เป็นการป้องกันความร้อนและแสงแดด ไม่ให้ส่องผ่านหน้าต่างเข้ามา เป็นความร้อนสะสมอยู่ในบ้าน กันสาดหรือแผงกันแดดที่ดีนั้น ต้องกันแสงแดด ไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านให้มากที่สุด แต่อย่าให้มากไปจนทำให้บ้านมืด

3. อย่าใส่แหล่งความร้อน

การที่ลานรอบบ้านเป็นลานคอนกรีตนั้นจะเป็นตัวดูดความร้อนโดยเฉพาะที่อยู่ด้านทิศใต้หรือทิศตะวันตก เมื่อมีลมพัดมาก็จะนำความร้อนและฝุ่นจากพื้นคอนกรีตนี้มาด้วย ดังนั้น จึงควรจัดให้บ้านมีพื้นที่แบบนี้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ปูฉนวนให้พื้นดิน การปลูกหญ้าหรือไม้คลุมดินรอบๆบ้าน นอกจากเป็น “การปูฉนวนกันความร้อน” ให้กับพื้นดิน ยังเสมือน “ ตัวป้องกันฝุ่น” และยังให้ความร่มรื่นสบายตา ลดการสะท้อนของแสงอีกด้วย

4. ยอมให้ลมพัดผ่าน

ทุกครั้งที่มีลมพัดผ่านตัวเราเราจะรู้สึกเย็นสบาย ถ้าบ้านเรามีลม (เย็น)พัดผ่านเข้าบ้าน บ้านเราอาจไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือเปิดก็เพียงเล็กน้อย
ดังนั้น การวางบ้านหรือช่องหน้าต่างที่เหมาะสมกับทิศ บ้านก็มีโอกาสที่จะรับลมได้ มีทางให้ลมเข้า ต้องมีทางให้ลมออก การให้แต่ละห้องมีหน้าต่างอยู่ด้านตรงข้ามกัน จะทำให้อากาศถ่ายเทในห้องได้มาก รวมถึงอย่าวางเฟอร์นิเจอร์ขวาง หรือบังทางลมเข้าออกด้วย

5. เปิดบ้านรับแสงธรรมชาติที่ดี

การที่แต่ละห้องมีช่องแสงหรือหน้าต่างให้แสงธรรมชาติส่องสว่างเข้ามาในห้องได้นั้น ประโยชน์ที่เห็นชัดที่สุดคือ ไม่เสียสตางค์ค่าไฟฟ้าเพื่อที่จะเปิดโคมไฟ ในเวลากลางวัน
การรับแสงธรรมชาติเข้าบ้านที่ดีนั้นควรอยู่ในทิศทางที่ไม่มีแสงแดดเข้ามา การที่มีช่องแสงหรือหน้าต่างทางทิศเหนือนั้น จะรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้ดีที่สุด หรือทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือที่ช่วงบ่ายจะไม่โดนแดด ก็จัดว่าได้รับแสงธรรมชาติที่ดีเช่นกัน

6. ปรับที่ และปรับตัว

เชื่อว่าที่บ้านของทุกคนนั้นจะมีบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ไม่ว่าในหรือนอกบ้านที่ค่อนข้างจะเย็นสบาย ที่สุดในแต่ละเวลา เช่น มีร่มเงาลมพัดผ่านอยู่เสมอ เมื่อรู้แล้วว่าเป็นบริเวณใด ลองปรับการใช้สอยของตัวเรา เช่น จัดบริเวณนั้นให้เป็นที่ตั้งโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งเล่น พักผ่อน เท่านี้ก็เป็นการ “เคลื่อนตัวเราหาลมและแสงธรรมชาติ” อย่างง่าย

รวมถึงการใส่เสื้อผ้าให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และมีการปรับตัวโดยสวมใส่เสื้อผ้า เบา บาง ในหน้าร้อนให้ร่างกายสบาย เพื่อที่จะไม่ต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้ต่ำมาก

การเลือกใช้วัสดุเพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม

หลังจากที่ทุกคนเริ่มรับรู้ถึงปัญหาจากภาวะโลกร้อน จึงจำเป็นที่ต้องหันมาใช้วัสดุเพื่อช่วยในการประหยัดพลังงาน การใช้วัสดุประเภทนี้ก็เพื่อที่จะช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานของบ้านคุณในแต่ละเดือนให้ลดลงมากว่าที่เคยเป็น และรู้จักใช้ประโยชน์จากวัสดุประหยัดงาน เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างสูงที่สุด ปัจจุบันมีวัสดุก่อสร้างที่ช่วยประหยัดพลังงาน ออกมาหลากหลายรูปแบบ ให้ได้เลือกใช้ตามลักษณะงานแต่ละประเภท โดยการเลือกใช้วัสดุนั้น คุณจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการช่วยลดความร้อนหรือประหยัดพลังงาน มากกว่าคำนึงถึงความสวยงามเพียงอย่างเดียว ความสวยงามมันก็ดีทำให้บ้านดูสวยงาม แต่ประโยชน์การใช้สอยต้องดูว่าเหมาะสมกับบ้านคุณหรือไม่ วัสดุผนัง จำพวกผนังกันความร้อนเช่น ผนัง Steelcon ที่มีการออกแบบให้มีฉนวนตรงกลางระหว่างชั้นคอนกรีตเสริมเหล็กภายนอก 2 ชั้น มีประสิทธิภาพดีกว่าผนังอิฐมอญ 10 เท่า ดีกว่าอิฐมวลเบา 3 เท่า และยังแข็งแรงกว่า 2-3 เท่า เพราะเป็นผนังชนิดเดียวที่เสริมเหล็ก

แต่เนื่องจากระบบผนัง Steelcon มีราคาแพงและมีข้อยุ่งยากในการติดตั้ง หากมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ คุณอาจพิจารณาเลือกใช้อิฐมวลเบา หรือการก่อกำแพงอิฐมอญ 2 ชั้น ซึ่งราคาประหยัดกว่า ไม่ควรใช้ผนังอิฐมอญชั้นเดียว เพราะอิฐมอญมีคุณสมบัติเป็นตัวนำความร้อน จะทำให้บ้านร้อน การกำแพงอิฐมอญ 2 ชั้นจะเย็นกว่าการใช้อิฐมวลเบา วัสดุหลังคา ซึ่งปัจจุบัน มีเทคโนโลยีออกมาใหม่ หลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบที่ช่วยกระจายความร้อน แต่ที่กำลังมาแรงก็คือหลังคาที่ทำมาจากยางพารา โดยนำมาผสมกับผงขี้เลื้อย ไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งที่มีราคาถูก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่แข็งและคงรูปเป็นหลังคาได้ และมีราคาที่ไม่แพง นอกจากนี้หลังตาที่ทำจากยางพารา ยังสามารถเป็นทั้งหลังคาและฉนวนกันความร้อนในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะเพิ่มความสะดวกในการติดตั้ง และน้ำหนักของหลังคาที่จะเบากว่าหลังคาทั่วไป ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้โหลดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิด Stand alone เป็น

วิกฤติการณ์ด้านพลังงานทำให้เกิดธุรกิจบ้านพลังงานมากมาย

วิกฤติการณ์ด้านพลังงานได้ก่อตัว และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากการขาดแคลนแหล่งพลังงาน และผลกระทบของการใช้พลังงาน ที่มีต่อสภาวะสิ่งแวดล้อม ทุกภาคส่วนจึงต้องตระหนักถึงวิกฤตการณ์นี้ และพยายามคิดค้นเพื่อหาทางออก หนทางหนึ่งในการแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าวคือ การใช้พลังงานทดแทนพลังงานทดแทน โดยทั่วไปหมายถึงพลังงานที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติและสามารถมีทดแทนได้อย่างไม่จำกัด (เมื่อเทียบกับพลังงานหลักในปัจจุบัน เช่น น้ำมันหรือถ่านหินซึ่งมีเฉพาะที่ และรวมถึงต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันใหม่ๆ) ตัวอย่าง พลังงานทดแทนที่สำคัญเช่นแสงอาทิตย์ ลม คลื่นทะเล กระแสน้ำ ความร้อนจากใต้ผิวโลก พลังงานจากกระบวกการชีวภาพ เช่นบ่อก๊าซชีวภาพ

เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมและวัตถุดิบที่จะนำมาแปลงสภาพเป็นพลังงานเพื่อใช้งานในท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นแต่ละท้องถิ่น หรืออาจจะเริ่มต้นที่ครัวเรือน จะต้องพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่มีศักยภาพ เพียงพอที่จะนำมาผลิตเป็นพลังงานเพื่อใช้ในครัวเรือน หรือท้องถิ่นของตนเองได้บ้าง อาทิเช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งเป็นวัสดุหรือสารอินทรีย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานได้ ชีวมวลนับรวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เศษไม้ ปลายไม้จากอุตสาหกรรมไม้ มูลสัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร และของเสียจากชุมชน หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว และส่าเหล้า  เชื้อเพลิงชีวภาพ เชื้อเพลิงที่ได้จากชีวมวล เป็นพลังงานที่ได้จากพืชและสัตว์โดยมีพื้นฐานจากการสังเคราะห์แสงแล้วเก็บรวบรวมพลังงานจากดวงอาทิตย์เอาไว้ในรูปของพลังงานเคมี หรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ต่างๆ รวมทั้งการผลิตจากการเกษตรและป่าไม้ เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ (น้ำตก น้ำขึ้นน้ำลง คลื่น ลำธาร ลำห้วย) ตลอดจน พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น เมื่อครัวเรือน หรือท้องถิ่นทราบศักยภาพว่าตนเองมีความพร้อมที่จะผลิตพลังงานจากแหล่งใดมากที่สุดแล้ว ก็สามารถพิจารณาดำเนินการได้ โดยอาจเริ่มจากการไปศึกษาดูงาน หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จากครัวเรือน หรือท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จในการผลิตพลังงานขึ้นใช้เอง หรือจากหน่วยงานราชการ  รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งจะทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาพลังงานท้องถิ่นขึ้นใช้เองอย่างเหมาะสมและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

การสร้างบ้านประหยัดพลังงานและการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี SOLAR CELL

เนื่องจากอากาศร้อนขึ้นทุกวันในปัจจุบัน ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อีกทั้งยังมีการเกิดอุทกภัยต่างๆ ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการใช้พลังงานในอาคารสูงขึ้น คอนโดต่างๆ และบ้านเรือนที่ต้องใช้พลังงานส่วนใหญ่กับเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น ทำให้อนาคตยิ่งขาดแคลน พลังงานมากขึ้น

ดั้งนั้นจำเป็นต้องหันมาช่วยกันอนุรักษ์พลังงาน ในอาคาร หรือสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะบ้านซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตควรนำหลักการประหยัดพลังงานมาใช้ร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์ เพราะนอกเหนือไปจากการประหยัดพลังงานแล้วยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการสร้างบ้านประหยัดพลังงานได้แก่
1. หลังคา Shingles Roof ที่แตกต่างจากหลังคาทั่วไปคือป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์มีน้ำหนักเบากว่าหลังคาโดยทั่วไป คงทน และมีความสวยงามเข้ากับธรรมชาติได้อย่างดี
2.กระจก Heat Stop เป็นกระจกฉนวนภายในช่องว่างระหว่างกระจกเคลือบด้วยสารที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำทำหน้าที่ป้องกัน ความร้อนความชื้นจากอากาศภายนอกเข้าตัวบ้าน
3.ผนัง EIFS เป็นระบบเคลือบกันความร้อน และความชื้นด้านภายนอกอาคารโดยตรง
ซึ่งบ้านที่มีแนวความคิดในการออกแบบอย่างนี้จะมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ระบบธรรมชาติผสมผสานกับการใช้ระบบการประหยัดพลังงานเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจะเป็นรูปแบบของบ้านพักอยู่อาศัยที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยในเขตเมือง และบริเวณโดยรอบบ้านมีพื้นที่พอเพียงที่จะสร้างสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ดี ในการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานที่ดี จึงจำเป็นต้องอาศัยแนวความคิดตามหลักธรรมชาติมาใช้ร่วมกันในการสร้างและรักษาสภาวะภายในบ้านให้น่าอยู่และสบายได้โดยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ฉะนั้นการให้ความสำคัญกับเรื่องการประหยัดพลังงานและการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีแล้วยังสร้างความสบายให้กับผู้อยู่อาศัย ซึ่งบ้านในรูปแบบอนุรักษ์พลังงงานตามแนวคิดธรรมชาติ จะช่วยให้บ้านเย็นลง ทำให้ลดการใช้พลังงานของเครื่องทำความเย็น แอร์ พัดลม อย่างมาก ซึ่งการติดตั้งSOLAR CELL เพื่อผลิตพลังงาน มาใช้ในบ้าน หรืออาคารจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วย และอาจจะไม่ต้องพึ่งพาระบบพลังงานไฟฟ้าจากสายไฟดังนั้นการนำSOLAR CELLมาใช้ถือได้ว่าเป็นแนวคิดใหม่ของการอนุรักษ์พลังงานที่ยั่งยืนได้ในอนาคต

แนวทางการสร้างบ้านประหยัดพลังงานแบบสบายกระเป๋า

โลกของเราควรให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานกันมากขึ้น จะเห็นได้จากการรณรงค์ในเรื่องการประหยัดพลังงานตามแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การโฆษณาตามโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการช่วยกันทดแทนพลังงานที่สูญเสียไป

บ้านประหยัดพลังงานเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคสมัยใหม่ ผู้คนต่างให้ความสนใจ และในปัจจุบันก็มีการสร้างบ้านประหยัดพลังงานแบบนี้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับบ้านลักษณะนี้ ถึงแม้ว่าประเทศไทยยังไม่นิยมทำบ้านในลักษณะนี้ แต่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งคนที่กำลังจะมีบ้านเป็นของตนเองควรพิจารณาเพื่อไว้เป็นแนวทางประหยัดพลังงานไปในตัว วิธีที่เราสามารถสร้างบ้านตามหลักพลังงาน มีดังนี้

1.การวางทิศบ้านให้ถูกทาง การวางทิศทางของบ้านนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการประหยัดพลังงาน โดยการสร้างบ้านที่ดีควรหันทิศหน้าบ้านไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ เพื่อหลบแสงแดด ก็จะช่วยลดการเปิดเครื่องปรับอากาศ ช่วยในการประหยัดไปได้เยอะ
2.การจัดวางประตูบ้าน เพื่อให้อากาศถ่ายเท ควรทำประตูบ้านไว้ที่ทิศเหนือหรือใต้ จะทำให้อากาศผ่านเข้ามายังตัวบ้านได้ดี ช่วยนำความร้อนออกจากบ้าน ช่วยให้บ้านเย็น ลดการเปิดเครื่องปรับอากาศได้อีกทางหนึ่ง
3.ติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ช่วยให้บ้านเย็นสบาย โดยติดไว้ที่เพดานหรือใต้หลังคา เพื่อช่วยดูดซับความร้อนที่เข้ามาภายในบ้าน ควรติดบริเวณที่โดนความร้อนบ่อยๆ เช่น ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
4.สร้างน้ำไว้รอบบ้าน โดยการสร้างรางน้ำไว้รอบหลังคา และสร้างระบบสูบน้ำ เวลาที่อากาศร้อนให้น้ำไหลรอบตัวบ้าน ซึ่งช่วยให้บ้านเย็นสบาย และยังดูสวยงามอีกด้วย
5.ยกใต้ถุนบ้านให้สูงขึ้น บ้านในสมัยก่อนนิยมสร้างบ้านให้สูงโดยการยกใต้ถุนบ้าน ที่ช่วยป้องกันน้ำท่วม และเป็นลานกิจกรรมยามว่าง นอกจากนี้ใต้ถุนบ้านยังช่วยให้บ้านเย็น เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำให้ลมพัดเข้าตัวบ้านได้ง่ายขึ้น
6.ปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน ช่วยทำให้บ้านมีความร่มเงา ช่วยบังแสงแดด ทำให้คนในบ้านรู้สึกสดชื่น สามารถช่วยลดการสะท้อนของแสงที่อาจสะท้อนไปยังตัวบ้าน ทำให้บ้านร้อนและเปลืองพลังงานตามไปด้วย

บ้านประหยัดพลังงานมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทำให้ไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก ทำให้ธุรกิจประเภทนี้ไม่เติบโตนัก แนวทางที่แนะนำข้างต้นจึงน่าสนใจสำหรับผู้ที่มีงบจำกัดและอยากมีบ้านประหยัดพลังงานเป็นของตนเอง

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตพลังงานสูงสุดให้กับธุรกิจอาคารบ้านเรือน

8

พลังงานแสงอาทิตย์ถูกใช้งานอย่างมากแล้วในหลายส่วนของโลก และมีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากกว่าการบริโภคพลังงานของโลกในปัจจุบันหลายเท่าหากใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้โดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือสำหรับทำความร้อน หรือแม้แต่ทำความเย็น ศักยภาพในอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถูกจำกัดโดยแค่เพียงความเต็มใจของเราที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้ มีวิธีการมากมายที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้งานได้ พืชเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเคมีโดยใช้การสังเคราะห์แสง เราใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้โดยการกินพืชและเผาฟืน อย่างไรก็ตามคำว่า “พลังงานแสงอาทิตย์” หมายถึงการเปลี่ยนแสงอาทิตย์โดยตรงมากกว่าเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้งาน ประเภทพื้นฐานของพลังงานแสงอาทิตย์ คือ “พลังความร้อนแสงอาทิตย์” และ “เซลล์แสงอาทิตย์”

กระบวนการของเซลล์แสงอาทิตย์คือการผลิตไฟฟ้าจากแสง ความลับของกระบวนการนี้คือการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุภาคที่ถูกชาร์จที่ขั้วลบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานของไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นระบบเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่ต้องการแสงอาทิตย์ที่สว่างในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังผลิตไฟฟ้าในวันเมฆมากได้ด้วยเนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้สัดส่วนกับความหนาแน่นของเมฆ นอกจากนี้ วันที่มีเมฆน้อยยังผลิตพลังงานได้สูงขึ้นกว่าวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆ เนื่องจากแสงอาทิตย์สะท้อนมาจากเมฆเป็นเรื่องปกติในปัจจุบันที่จะใช้เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กมากให้พลังงานให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องคิดเลข นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไม่มีสายส่งไฟฟ้า เราได้พัฒนาตู้เย็นที่เรียกว่าความเย็นจากแสงอาทิตย์ (Solar Chill) ที่สามารถปฏิบัติงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากทดสอบแล้วจะถูกนำไปใช้ในองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อช่วยให้บริการวัคซีนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า และจะถูกนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ต้องการพึ่งพาสายส่งไฟฟ้าเพื่อรักษาความเย็นของอาหาร นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถผลิตพลังงานสูงสุดให้กับอาคารในวันอากาศร้อนในฤดูร้อนเมื่อระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานมากที่สุด

เทคนิคของธุรกิจในการสร้างบ้านพลังงานในปะหยัดมากยิ่งขึ้น

14-34518

เชื่อหรือไม่ว่า บ้านที่คุณอยู่ปัจจุบันก็สามารถแปลงสภาพให้เป็นบ้านประหยัดพลังงานได้เหมือน กัน ลองสังเกตแต่ละมุมของบ้านจาก 6 เทคนิคต่อไปนี้ แล้วปรับเปลี่ยน ปรับปรุงในมุมที่ไม่เวิร์กเสียใหม่ตามคำแนะนำที่ว่าไว้ เท่านี้บ้านทั้งหลังของคุณก็จะกลายเป็นบ้านพลังงานหารสองที่สมบูรณ์อย่างแน่ นอน ติดฉนวนกันความร้อนบนฝาเพดาน ก่อนเริ่มติดตั้งควรตรวจสอบบริเวณที่จะติดตั้ง เช่น ชนิด การรับน้ำหนักของฝ้าเพดาน เพื่อจะได้สามารถเลือกฉนวนกันความร้อนได้อย่างเหมาะสมกับสถานที่และการใช้ งาน ซึ่งแบบของฉนวนนั้นควรที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว ปรับปรุงโถงบันไดที่ค่อนข้างมืด และไม่ระบายอากาศ ด้วยแสงสว่างและลมจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคา หรือแผ่นฝ้าให้เป็นวัสดุโปร่งแสงในจุดที่ต้องการความสว่าง โดยกำหนดให้มีขนาดพอเหมาะ ส่วนการระบายอากาศนั้นก็ให้พยายามเปิดหน้าต่าง ให้สามารถระบายได้อย่างต่อเองผ่านโถงบันไดเท่าที่ทำได้

อย่าต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้ลมเข้าออก โดย เฉพาะพื้นที่ชั้นล่างที่ต้องพยายามออกแบบให้ทุกส่วนของมีทางให้ลมเข้าและออก ได้อย่างต่อเนื่อง จึงจะช่วยลดการสะสมความร้อนภายในบ้าน และได้รับแสงธรมชาติ อันเป็นหนทางประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง ในห้องที่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ควรเลือกใช้หน้าต่างแบบบ้านเลื่อน และประตูแบบบานทึบแทน เพราะจะช่วยปิดกันความร้อนและความชื้นจากภายนอกได้ดีกว่า หน้าต่างหรือประตูที่มีลักษณะเป็นบานแกล็ด ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป เลือกตำแหน่งการวางคอมเพรสเซอร์แอร์เอาไว้ในที่ที่โดนแดดน้อยที่สุด เช่น บริเวณผนังด้านทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก หรือตั้งไว้ในพื้นที่ร่มและโล่ง เพื่อจะได้ดูแลรักษาได้ง่าย รวมทั้งไม่วางของแกะกะบริเวณช่องลมกลับเวลาเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศสามารภทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด พลังงานนั่นเอง เวลาเปิดเครื่องปรับอากาศแต่ละครั้ง อย่าลืมตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส และหากต้องการความเย็นไปตลอดทั้งคืนที่นอน แถมยังประหยัดไฟล่ะก็ ให้เปิดพัดลมทิ้งไว้ด้วย และตั้งปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติไว้สักประมาณตีหนึ่ง หรือตีสอง โดยพัดลมที่เปิดทิ้งไว้จะช่วยให้ความเย็นยังคงหมุนเวียนอยู่ในห้อง ทำให้คุณเย็นสบายได้ถึงเช้าเชียวล่ะ ด้วยเทคนิคนี้ คุณก็จะกลายเป็นอีกหนึ่งคนที่ช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงาน แต่เหนือประโยชน์อื่นใดก็คือ คุณได้ช่วยเซฟกระเป๋าเงินตัวเอง ไม่ให้รั่วไหลไปกับค่าไฟที่บานเบอะในแต่ละเดือนนั่นเอง

ปัจจุบันเริ่มหันมาให้ความสนใจกับธุรกิจการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานมากขึ้น


บ้านนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนต่างให้ความสำคัญ แต่ยิ่งไปกว่านั้นพลังงานก็ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

หากพูดถึงการใช้พลังงานภายในบ้านอาจมาจาก 3 กรณีหลัก คือ การใช้เครื่องปรับอากาศระบบแสงสว่าง รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ซึ่งการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานทำให้นึกถึงบ้านทรงไทยในอดีต เพราะสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าใช้และต้องอาศัยธรรมชาติสภาพแวดล้อม มาช่วยทำให้บ้านเย็นสบาย ด้วยหลักวิธีการออกแบบที่มีระเบียงเปิดโล่งมีใต้ถุนเปิดโล่งรับลม และมีส่วนที่ช่วยบดบังแดดในบางจุด ให้ความร่มรื่นเย็นสบายได้ตลอดทั้งปี ในปัจจุบันการปลูกบ้านจะใช้วัสดุการก่อสร้างที่เป็นอิฐ ปูน มากกว่าไม้ รูปทรงโมเดิร์นมีความเป็นสมัยใหม่ตามยุคบ้านทรงไทยที่สวยและมีดีไซน์เป็น เอกลักษณ์ค่อย ๆ ลดจำนวนลงเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ที่รีบเร่งของคนปัจจุบัน การสร้างบ้านอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทดแทนไม้ที่หายากและมีราคาแพง

แต่การออกแบบในปัจจุบันผู้ออกแบบหรือสถาปนิกหลายคนได้นำเอาหลักแนวความคิด บ้านทรงไทยในอดีตมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน แต่แฝงไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นไทยอยู่บ้างโดยคำนึงถึงหลักการประหยัด พลังงานทั่วไป เช่น การดูสภาพแวดล้อมการดูทิศทางลม ทิศทางแดด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น อิฐมวลเบา ฉนวนกันความร้อน กระจกเขียวตัดแสง

ปัจจุบันตลาดบ้านประหยัดพลังงานนั้นมีหลาย ๆ บริษัท เริ่มหันมาให้ความสนใจกับการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานมากขึ้น บางบริษัทออกแบบบ้านใหม่เฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ที่สนใจบ้านประหยัดพลังงาน แต่เนื่องจากธุรกิจรับสร้างบ้านบางบริษัทเพิ่งเข้ามาทำการตลาดบ้านประหยัดพลังงาน จึงยังไม่ได้มีการเก็บข้อมูลไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อดูจากปัญหาพลังงานที่มีมากขึ้นและพลังงานมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของลูกค้ามีมากขึ้น คาดว่าตลาดบ้านประหยัดพลังงานน่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ที่ผ่านมาบ้านประหยัดพลังงาน เข้าถึงประชาชนได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ที่มากพอ และยังมีความเข้าใจในเรื่องของบ้านและการเลือกใช้วัสดุไม่เพียงพอ คิดว่าการสร้างบ้านประหยัดพลังงานนั้นมีต้นทุนสูง โดยเฉพาะผู้ประกอบการเองก็ยังมีความเข้าใจในเรื่องของบ้านประหยัดพลังงานยังไม่ดีพอเช่นกัน ตั้งแต่การออกแบบบ้าน การวางฟังก์ชั่นภายในบ้านการกำหนดวางตัวอาคารให้เหมาะสมกับทิศ รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม

 

ธุรกิจรับสร้างบ้าน ในแบบบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ ต้นแบบที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต

image002

ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศในบ้านเรานับวันยิ่งแปรปรวนขึ้นแทบทุกวันและปัญหาที่หนัก สุดสำหรับคนไทย ก็คืออากาศที่ร้อนและร้อนมาก ดังนั้นจึงทำให้แต่ละคนจำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็น อย่างเครื่องปรับอากาศ ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญกับการทำกิจวัตรประจำวันในที่พักอาศัยและอาคารสถาน ที่ต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ความสบายของมนุษย์กำลังกลายเป็นสิ่งที่ทำลายสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา ตราบใดที่มีอัตราการขยายตัวของการใช้เครื่องปรับอากาศก็เท่ากับเพิ่มจำนวน ของการทำลายชั้นบรรยากาศของโลกให้ร้อนขึ้นไปอีก

ปัจจุบันนี้สภาวะความตื่นตัวของการช่วยกันประหยัดพลังงานหรืออนุรักษ์พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สิ่งแวดล้อมของโลกเสื่อมโทรมน้อยลง และช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น เริ่มเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น เช่นเดียวกันกับคนรัก บ้าน ที่กำลังคิดจะสร้างบ้านค่ะ หลาย ๆ คนก็เริ่มที่จะใส่ใจในรายละเอียดเพื่อช่วยให้เราสามารถประหยัดพลังงานที่จะต้องสิ้นเปลืองภายในบ้านเรากันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุสร้างบ้าน หรือแม้แต่การคิดค้นหาวิธีที่จะปรับรูปแบบการใช้ชีวิตภายในบ้านให้เหมาะสมกับการช่วยลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง

บ้านพักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ แต่บ้านหลายหลังถูกสร้างโดยลืมนึกถึงสภาพภูมิอากาศที่บ้านตั้งอยู่ ใช้วัสดุไม่เหมาะสม รวมถึงการอยู่อาศัยอย่างไม่สอดคล้องกับเมืองร้อน ทำให้ต้องปรับอากาศภาพในบ้าน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หนทางที่จะลดการใช้พลังงานในบ้านพักอาศัย คือ ปรับวิถีชีวิต พฤติกรรม และบ้านเรือนให้สามารถอยู่อาศัยได้สบาย โดยมีการใช้พลังงานน้อยที่สุด หรือหากต้องใช้พลังงาน ก็ใช้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งสองแนวทางนั้น ควรทำควบคู่กันไป

ความหมายของบ้านประหยัดพลังงานจริง ๆ แล้วคืออะไร บ้านประหยัดพลังงาน ก็คือ บ้านที่ใช้พลังงานน้อย โดยที่ยังคงสามารถรักษาและควบคุมสภาวะน่าสบายตลอดจนคุณภาพชีวิตภายในบ้านไว้ได้อย่างดียิ่ง คือครบถ้วนทั้งการอยู่อาศัย อยู่สบาย และประหยัดพลังงานนั่นเองน่ะนะคะ ทั้งนี้ การสร้างหรือปรับปรุงบ้านให้เป็นบ้านประหยัดพลังงานนั้น สามารถทำได้สองวิธีใหญ่ ๆ ก็คือ
1. ปรับปรุงในส่วนของตัวบ้านเอง เช่น การเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านที่ช่วยให้มีการใช้พลังงานสิ้นเปลืองในบ้านน้อยลง การป้องกันสภาวะอันไม่น่าสบายภายนอกบ้านให้เข้าสู่ภายในบ้านให้น้อยที่สุด เป็นต้น
2. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมนอกตัวบ้าน เช่น การปลูกต้นไม้ ทำสวน หรือการปรับปรุงภูมิทัศน์ที่จะช่วยเพิ่มความอยู่สบายให้กับผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน เป็นต้น

 

กระตุ้นผู้ประกอบการสำหรับออกแบบบ้านประหยัดพลังงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

พลังงงานทางเลือกนี้โดยทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็นที่ต้องทำ

เพราะพลังงานไฟฟ้า แก๊ส หรือน้ำมัน มีให้บริการอยู่ทั่วไป และตัวอย่างชุมชนที่มีการใช้พลังงานทางเลือกเป็นเพราะไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง หรือไม่สามารถซื้อแก๊สมาใช้ได้สะดวกนักเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากชุมชน แต่ในอนาคตน้ำมันและแก๊สปิโตเลียมจะต้องหมดไป และโรงงานผลิตไฟฟ้าก็อาจจะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอกับประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ลองวางแผนล่วงหน้าไว้ก็ไม่เสียหลาย สำหรับอาคารและบ้านอยู่อาศัยอนุรักษ์พลังงาน เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยรณรงค์ส่งเสริมผู้ประกอบการบ้านจัดสรรให้เห็นความสำคัญและจัดทำบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกระตุ้นจิตสำนึกให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อบ้านจัดสรรที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงาน

แนวความคิดการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน

1. การพิจารณาเลือกระบบที่มาใช้ภายในอาคาร คือการเลือกสรรวัสดุที่มีค่ากักเก็บความร้อนและความชื้นน้อย เช่น วัสดุผิวมัน วัสดุที่มีน้ำหนักเบาไป พร้อมกับการเลือกใช้เครื่องเรือนเท่าที่จำเป็นและเลือกใช้ชนิดที่มีน้ำหนักเบาและไม่ดูดความชื้นด้านอุปกรณ์ควรใช้ที่มีประสิทธภาพสูงและใช้พลังงานน้อย
2. อาคารที่พึงปรารถนา โดยตัวบ้านที่ออกแบบตามแนวคิดข้างต้นก็ยังไม่สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ แต่การออกแบบบ้านตามแนวคิดดังกล่าวก็จะใช้เครื่องปรับอากาศเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
3. การเลือกใช้ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้งอาคาร คือการใช้ตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้งอาคารเพื่อทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านเย็นลงกว่าเดิม
4. การเลือกที่ตั้งและทิศทางของอาคาร คือการสร้างสรรค์สภาพแดวล้อมให้เย็นเพื่อลดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายใน และภายนอก ซึ่งก็คือให้ตัวบ้านสามารถสกัดกั้นความร้อนจากภายนอกได้มากที่สุด ซึ่งรวมถึงการออกแบบช่องเปิดและการควบคุมการรั่วซึมของอากาศ
5. การพิจารณาออกแบบและเลือกระบบเปลือกอาคาร คือการเลือกระบบผนังที่สามารถป้องกันความร้อนและความชื้นได้ดี เพราะวัสดุแต่ละชนิดที่ใช้เมื่อนำมาวิเคราะห์แล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก

การใช้พลังงานทางเลือกจากพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ และแก๊สชีวภาพ

โดยมีแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีกังหันลมตั้งในบ้านสำหรับเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอร์รี่เพื่อใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน ในหมู่บ้านที่มีทุ่งโซลาร์เซลล์และทุ่งกังหันลมของชุมชนที่จะแจกจ่ายไฟฟ้าให้คนในหมู่บ้านของตนเอง ซึ่งจะมีพลังไฟฟ้าพอที่จะใช้เปิดเครื่องปรับอากาศได้ พลังงานจากลมสำหรับชุมชนเมืองอาจจะใช้ได้ไม่เต็มที่หรืออาจจะใช้ไม่ได้ เพราะอาคารบ้านเรือนบังกระแสลมและไม่สามารถหมุนใบพัดได้ ส่วนพลังน้ำจะใช้ได้กับแม่น้ำที่ไหลแรงหน่อย ถ้าเป็นในบ้านที่สามารถใช้พลังงานลมและน้ำได้ ตัวกังหันน้ำและกังหันลมสามารถสูบน้ำขั้นมาใช้ในการเกษตรได้และปั่นไฟเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ได้ ส่วนแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาก็เก็บไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่เช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วไปทราบกันอยู่แล้ว

คุณสมบัติของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ

คุณมีลักษณะบุคลิกภาพที่เหมาะกับการดำเนินธุรกิจของตนเองอย่างประสบความสำเร็จหรือไม่ การเริ่มต้นทำธุรกิจต้องอาศัยไฟปรารถนาในการเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จภายในตัวคุณ ซึ่งไม่มีในทุกคน คุณจะทราบได้อย่างไรว่าคุณมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจของคุณเองๆ ได้ เราไม่มีทางทราบได้อย่างแน่นอน แต่สังเกตว่าผู้ที่พร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจของตนเองมักจะมีบางสิ่งที่เหมือนกันทั้งในพื้นฐานด้านอารมณ์ความคิดและด้านครอบครัว คุณไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 7 ประการในการเป็นผู้เป็นเจ้าของธุรกิจที่ดีได้ แต่ถ้ามีครบก็ไม่เสียหายอะไร โดยทั่วไป ยิ่งคุณมีคุณลักษณะที่ตรงกับคุณสมบัติเหล่านี้มากเท่าใด คุณก็จะยิ่งใกล้ที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจเองมากขึ้นเท่านั้น

1.คุณเป็นบุคคลจำพวกที่ไม่สามารถทำงานให้ผู้อื่นได้ ผมไม่ได้หมายถึงในแง่ลบ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าของธุรกิจเองมักจะมีพ่อแม่ที่มีกิจการงานเป็นของตนเอง การหางานทำตามบริษัทง่ายกว่าการเริ่มต้นธุรกิจของตนอง คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจเองมักจะมีตัวอย่างโดยตรงจากพ่อแม่ของตน

2.คุณเป็นลูกจ้างที่ไม่เอาไหน ไม่จำเป็นต้องพูดหวานกับคุณในเรื่องนี้ ผู้ที่ทำกิจการของตนเองมักจะถูกไล่ออกหรือลาออกจากงานมากกว่าหนึ่งครั้ง ผมไม่ได้หมายถึงกรณีที่คุณถูกปลดออกเพราะไม่มีงานให้ทำหรือถูกย้ายไปในตำแหน่งที่ให้เงินเดือนสูงกว่า แต่ผมหมายถึงว่า คุณถูกแจ้งให้ออกจากงานหรือคุณชิงลาออกก่อนที่จะถูกไล่ออก เปรียบเสมือนหนึ่งว่าตลาดแรงงานได้แจ้งให้คุณทราบว่าผู้ที่สามารถกระตุ้นให้แรงบันดาลใจและสามารถจัดการคุณได้ก็คือตัวคุณเองเท่านั้น

3.คุณเห็นว่า “ความมั่นคงทางการงาน” มีความหมายหลายประการ ผมมีความรู้สึกอิจฉาคนที่ผมรู้จักที่ทำงานให้กับนายจ้างคนเดียวนานถึง 25 หรือ 30 ปี รู้สึกมีความมั่นคงอย่างเหลือเชื่อ แต่จะมีคนที่คุณรู้จักจำนวนสักเท่าใดที่สามารถอยู่บริษัทเดียวได้นานขนาดนั้น ในโลกของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ความมั่นคงทางการงานก็หายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน

4.คุณไปได้ไกลจนถึงที่สุดแล้ว แล้วก็ไม่สามารถไปได้ไกลกว่านั้นได้อีก บางครั้งแรงกระตุ้นในการเริ่มต้นธุรกิจอาจเกิดจากคุณถึงจุดสูงสุด แล้วคุณได้มองรอบๆ ก่อนพูดกับตนเองว่า “ทำอะไรต่อไปดีล่ะ” การประสบกับความสำเร็จเป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่การเกษียณก่อนเวลาอันควรอาจทำให้คนที่มีไฟแรงเป็นบ้าได้

5.คุณได้ทำการวิจัยตลาดมาเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่คุณจะพูดกับผมถึงแนวคิดธุรกิจอันยิ่งใหญ่ของคุณ คุณจะต้องใช้เวลาตรวจสอบว่าสินค้าหรือบริการของคุณสามารถขายได้ ผู้ที่เคยประสบกับการขาดทุนในธุรกิจอินเทอร์เน็ตสามารถยืนยันกับคุณได้ว่า คำว่า “ยอดเยี่ยม” ไม่จำเป็นต้องหมายถึง “กำไร” อย่าเสียเวลาทำกิจการใดๆ หากคุณไม่ทราบว่าทำแล้วจะมีลูกค้ามาซื้อหรือไม่

6.คุณจะต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวของคุณ การเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความเครียด การพยายามทำด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากคู่สมรส หรือการสนับสนุนจากสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนที่สำคัญอาจเป็นเรื่องที่ไม่อาจทนทานได้

7.คุณทราบดีว่า คุณไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวได้ คุณอาจเก่งในเรื่องการส่งเสริมการขาย หรืออาจชอบที่จะดูแลเรื่องระบบการเงินของบริษัท คุณอาจเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเพราะคุณมีความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย